คำถาม: |
ผู้ที่มีอาการอะไรบ้าง จึงจะต้องมาหาแพทย์ไคโรแพรคเตอร์ ? | |
คำตอบ: |
แพทย์ไคโรแพรคติก มุ่งเน้นในการรักษาโรค ที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง และระบบประสาท ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรจะปรึกษาแพทย์ไคโรแพรคติกทันที - ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดคอ ปวดศีรษะบ่อยๆ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ - หมอนกระดูกทับเส้นประสาท - กระดูกเคลื่อนจากอุบัติเหตุรถชน - อัมพาต - บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา - โรคภูมิแพ้ ที่รักษาแล้วไม่หาย - โรคที่เกี่ยวกับความดันโลหิต - เครียด | ![]() |
คำถาม: | การรักษาจะเห็นผลในทันทีหรือไม่ ? | |
คำตอบ: | คนไข้บางราย รู้สึกมีอาการดีขึ้นทันที ที่ได้รับการรักษา แต่บางราย ต้องรับการรักษาหลายครั้ง ก่อนที่จะรู้สึกดีขึ้น แพทย์ไคโรแพรคเตอร์ รักษาที่ต้นเหตุของปัญหา มิใช่รักษาที่อาการเท่านั้น หากท่านมีปัญหา ปวดหลังเป็นเวลานาน อาจจะต้องใช้เวลา ระยะหนึ่ง ก่อนที่ร่างกายของท่าน จะปรับตัว และเริ่มหายเป็นปกติ | |
คำถาม: | หลังจากได้รับการรักษาแล้ว อาการเดิมจะกลับมาอีกหรือไม่ ? | |
คำตอบ: | หากท่านหวนกลับไปใช้ชีวิต แบบเดิมก่อนได้รับการรักษา มีความเป็นไปได้สูง ที่อาการเดิม จะหวนกลับมาอีก แต่หากท่านปฏิบัติตาม คำแนะนำของแพทย์ฯ โอกาสที่อาการเดิม จะไม่หวนกลับมาอีก ก็มีมากขึ้น | ![]() |
คำถาม: | การรักษาแบบไคโรแพรคติก สามารถรักษาคนไข้ ทุกกรณีหรือไม่ ? | |
คำตอบ: | มีความผิดปกติ ของร่างกาย หลายอย่าง ซึ่งสามารถรักษา ให้หายขาดได้ โดยการรักษาแบบไคโรแพรคติก แต่มิใช่ทุกกรณี ในบางครั้ง แพทย์ไคโรแพรคเตอร์ จะทำการทดลองรักษาหลายๆ วิธี เพื่อดูว่าวิธีไหน ให้ผลดี แต่หากคนไข้ ไม่มีอาการดีขึ้น แพทย์ก็จะหยุดทำการรักษา | |
คำถาม: | การคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งปกติ ของข้อกระดูกสันหลัง เกิดจากสาเหตุอะไร ? | |
คำตอบ: | สาเหตุโดยทั่วไป ได้แก่ ท่าทรงตัวที่ไม่ถูกต้อง การนั่งนานเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถยนต์ การขาดการออกกำลังกาย การบาดเจ็บ รวมทั้งการบาดเจ็บ ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การสูบบุหรี่ ปัญหามลภาวะ ที่อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ต้องรับแรงกด ที่ผิดปกติ และความเครียดทางจิตใจ แต่ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุหลายอย่าง ประกอบกัน | |
คำถาม: | การรักษาแบบไคโรแพรคติก มีอันตรายหรือไม่ | |
คำตอบ: | ในประเทศสหรัฐอเมริกา แพทย์ไคโรแพรคติก มีมาประมาณ 100 ปี คนไข้ มีมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งได้รับการรักษา ทางด้านไคโรแพรคติกต่อวัน โดยไม่ปรากฏว่า มีรายงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ที่ร้ายแรงแต่อย่างใด ในช่วงเวลาดังกล่าว | ![]() |
คำถาม: | การรักษาแบบไคโรแพรคติก แตกต่างกับการรักษาแบบอื่นๆ อย่างไร ? | |
คำตอบ: | แพทย์ไคโรแพรคติก จะทำการวินิจฉัย อาการของท่าน และจะทำการรักษา ที่ต้นเหตุของปัญหา มิใช่การรักษาที่อาการเท่านั้น ยาต่างๆ เช่น ยาแก้ปวด ยากล่อมประสาท ยาแก้โรคซึมเศร้า มีประโยชน์ในการรักษา อาการของโรค แต่ต่างกับการขจัดต้นเหตุของปัญหา อาการกล้ามเนื้อตึง สามารถบรรเทา ได้โดยการบีบนวด แต่อาการดังกล่าว จะหวนกลับมาอีก จนกว่าจะมีการแก้ไขท่าทรงตัว และท่าเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยมิให้กล้ามเนื้อต้องแบบรับน้ำหนัก มากเกินไป | |
คำถาม: | การรักษาและผลการรักษา | |
คำตอบ: | การรักษาแบบไคโรแพรคติก ตั้งอยู่บนหลักที่ว่า ร่างกายของคนเรา มีความสามารถ ที่มีมาแต่กำเนิด ในการรักษาตัวเอง ในระหว่างการรักษา แพทย์จะใช้เทคนิครักษาเฉพาะอย่าง เพื่อเพิ่มและกระตุ้นความสามารถ ในการรักษาตัวเองดังกล่าว โดยไม่มีการใช้ยา หรือการผ่าตัดแต่อย่างใด | |
คำถาม: | แผนการรักษา | |
คำตอบ: | เมื่อท่านมาพบแพทย์ครั้งแรก หรือ ครั้งที่สอง ท่านจะได้รับแผนการรักษา ซึ่งจะกำหนดว่า ท่านจะต้องมารับการรักษา อย่างต่อเนื่อง กี่ครั้ง ท่านจะต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาดังกล่าว โดยเคร่งครัด เพื่อให้การรักษา ได้ผลอย่างเต็มที่ | |
คำถาม: | ท่านจะได้รับประโยชน์จากการรักษา แบบไคโรแพรคติกเพียงใด ? | |
คำตอบ: | หลังจากที่ผ่านการรักษา ไปได้สองครั้ง แพทย์จะแจ้งให้ท่านทราบว่า โอกาสที่ท่านจะหาย โดยการรักษาแบบไคโรแพรคติก มีมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1. อาการของท่านรุนแรงเพียงใด 2. ท่านมีอาการดังกล่าว เป็นเวลานานเท่าใด 3. ร่างกายของท่าน มีความสามารถในการรักษาตัวเองมากน้อยเพียงใด 4. ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และออกกำลังกาย ตามที่แพทย์แนะนำโดยเคร่งครัดหรือไม่ |
![]() |
คำถาม: | ปฏิกิริยาต่อการรักษา | |
คำตอบ: | ในระหว่างการรักษา ร่างกายของท่าน จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ปฏิกริยา ที่มีต่อการรักษา ของคนไข้ แต่ละรายไม่เหมือนกัน คนไข้บางราย มีความรู้สึกว่า มีอาการตัวเบา และอาการปวดลดลง เกือบจะทันทีทันใด ส่วนบางราย อาการค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยต้องใช้เวลา ที่นานกว่า ในบางครั้ง อาการปวดอาจจะเพิ่มขึ้นชั่วคราว และอาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ท่านไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจาก อาการดังกล่าว เป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น และจะหายไปเองในไม่ช้า อาการง่วงเพลีย เป็นผลอีกอย่างหนึ่ง จากการที่ความตึงของกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายลง หากท่านต้องขับรถ ท่านควรจะตระหนักถึงเรื่องนี้ด้วย เพราะปฏิกิริยาโต้ตอบ (Reflex) ของท่าน อาจจะช้าลง ในขณะง่วงเพลีย ผลอย่างเต็มที่ ของการรักษา จะยังไม่สามารถมองเห็นได้ จนกระทั่ง 1-2 เดือน หลังจากการรักษาได้เสร็จสิ้นลง ในระหว่างการรักษา ท่านจะต้องควบคุมตัว ตามคำแนะนำ ของแพทย์ และฝึกออกกำลังกาย ตามที่แพทย์แนะนำเป็นประจำ |